บริการที่ปรึกษาการรับรองมาตรฐานป่าไม้
1. การรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้ (FSC FM & TFCC FM)
Forest Management Certification – กลไกการรับรองการจัดการป่าไม้ ซึ่งสามารถติดตาม ตรวจสอบย้อนกลับ ถึงแหล่งที่มาของไม้เหล่านั้น เพื่อให้ผู้ค้าและบริโภคมีความมั่นใจและสามารถจำแนกได้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้น มาจากป่าไม้ที่มีการจัดการที่ดี มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงความยั่งยืน ผ่านแนวปฏิบัติด้านการจัดการบรรลุวัตถุประสงค์สำหรับการจัดการป่าไม้อย่างรับผิดชอบ และแสดงหลักฐานแก่ลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์มาจากป่าที่มีการจัดการที่ดี โดยการกำหนดหลักการ หลักเกณฑ์ ตัวชี้วัด และตรวจรับรองโดยบุคคลที่สาม (Third-party) มีการระบุอายุใบรับรอง สถานะการรับรองและความถี่ในการตรวจติดตามที่ชัดเจน
เราให้บริการทีมงานที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมระบบงานและบุคคลากรเพื่อการตรวจรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้ (Forest Management: FM) ทั้งมาตรฐาน Forest Stewardship Council (FSC) และ Thailand Forest Certification Council (TFCC/มอก. 14061) ในทุกรูปแบบการรับรอง ดังต่อไปนี้
- การรับรองแบบกลุ่ม (Group Certification)
- การรับรองแบบเดี่ยว (Single Certification)
- การรับรองแบบหลายแปลง (Multi – Site Certification)
- การรับรองแบบ Control Wood
2. การรับรองมาตรฐานห่วงโซ่การควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ (FSC CoC & PEFC CoC)
Chain of Custody Certification – กลไกลการรับรองผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ที่สามารถยืนยันว่าวัตถุดิบจากป่าที่ผลิตตามมาตรฐานนั้นถูกนำมาใช้อย่างน่าเชื่อถือตลอดเส้นทางของผลิตภัณฑ์จากป่าจนกลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป ฉลากบนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเป็นสัญญาณว่าวัสดุที่ใช้ในระหว่างการผลิตเป็นไปตามข้อกำหนดของห่วงโซ่การควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ทุกขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การจัดหาจนถึงการจัดจำหน่าย
บริการทีมงานที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมระบบงานและบุคคลากรเพื่อการตรวจรับรองมาตรฐานห่วงโซ่การควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ (Chain of Custody: CoC) ทั้งมาตรฐาน Forest Stewardship Council (FSC) และ Programme for the Endorsement of Forest Certification (PEFC) หรือ Thailand Forest Certification Council (TFCC/มอก. 2861) ในทุกรูปแบบการรับรอง ดังต่อไปนี้
- การรับรองแบบกลุ่ม (Group Certification)
- การรับรองแบบเดี่ยว (Single Certification)
- การรับรองแบบหลายแปลง (Multi – Site Certification)
- การใช้วัตถุดิบ Control Wood/Control Source
3. การรับรองมาตรฐานเชื้อเพลิงพลังงานชีวมวลจากไม้ (FIT, GGL & ENplus)
Wood Biomass Fuel Certification – เป็นการรับรองเชื้อเพลิงพลังงานชีวมวล ในแต่ละจุดของห่วงโซ่อุปทานขึ้นอยู่กับรูปแบบของการรับรอง เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์มาจากแหล่งที่มีการจัดการที่ดี สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีการดำเนินการที่คำนึงถึงความยั่งยืนและความถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านการกำหนดขอกำหนดของมาตรฐานและการตรวจรับรองจากบุคคลที่สาม
บริการทีมงานที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมระบบงานและบุคคลากรเพื่อการตรวจรับรองมาตรฐานเชื้อเพลิงพลังงานชีวมวลจากไม้ (Wood Biomass Fuel) ทั้งการรับรอง Feed in Tariff (FIT) Green Gold Label (GGL) และ ENplus สำหรับรับรองแหล่งที่มา คุณภาพ ความถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนความยั่งยืนของวัตถุดิบเชื้อเพลิงพลังงานชีวมวลจากไม้ ไม่ว่าจะเป็น ชิ้นไม้สับหรือชีวมวลอัดแท่ง (Wood pellet) เพื่อการค้าและการส่งออก ทั้งสำหรับผู้ผลิตและผู้ค้า
4. การพัฒนาระบบรองรับ EU Deforestation Free Regulation (EUDR)/Due Diligence System
EU Deforestation Free Regulation (EUDR) – เป็นกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (EU) ที่กำหนดให้โคกระบือ โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม ยางพารา ถั่วเหลือง และไม้ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวัตถุดิบเหล่านี้ ต้องถูกกฎหมายและปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566 กฎระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ ต้องพิสูจน์ถึงการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศที่ผลิต และ “ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของที่ดินทั้งหมดที่มีการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือได้ถูกนำมาใช้ ตลอดจนวันที่หรือช่วงเวลาของ การผลิต” (EUDR, Article 9(d)) ซึ่งจะต้องนำเสนอในคำชี้แจงใน Due Diligence โดยผู้ประกอบการเมื่อวางจำหน่ายสินค้าเหล่านี้ในตลาดสหภาพยุโรป บริษัทขนาดใหญ่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ EUDR ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป ในขณะที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะต้องปฏิบัติตามภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2568
Due Diligence System (DDS) – ระบบการสืบสวน ตรวจสอบ หรือสอบทานเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดตลอดห่วงโซ่อุปทานไม้ของไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้เพื่อการค้าและการส่งออก
บริการทีมงานที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในพัฒนาระบบงาน EUDR ทั้งรูปแบบระบบเอกสาร (Paper-base) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Digital-base) ตามความต้องการของลูกค้า สำหรับการส่งต่อข้อมูลให้แก่ผู้นำเข้า (Operator/Trader) ฝั่ง EU ในการสำแดงข้อมูลใน Due Diligence Statement ก่อนการน้ำเข้า สินค้าโคกระบือ โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม ยางพารา ถั่วเหลือง และไม้ ไปยังประทศในสหภาพยุโรป (EU) และสหราชอาณาจักร (UK)